PitaPata Dog tickers
Riding Momory
สวัสดีวันไหว้พระจันทร์ค่ะ

วันนี้(3 ตค.)ตอนเช้าป่าป๊ากับหม่าม้าได้ทำพิธีไหว้บรรพบุรุษอากงอาม่าทั้งหลาย และได้เอาของไหว้ซึ่งเป็นขนมและุผลไม้ไปไหว้พระพรหมที่สวนสาธารณะของหมู่บ้าน โดยมีหนูไปนั่งน้ำลายไหลด้วย เพราะหลังจากไหว้เสร็จป่าป๊าก็จะพาหนูเดินออกกำลังกายเลย(หนูจะออกเดินเช้ากับเย็น ถ้าฝนไม่ตกนะ)
ยาของไมโล
1.ยาลดคัน 2.ยาแก้อักเสบ 3.ยารักษาผิวหนัง VibraVet 4.ครีมทาผิวแก้ตุ่มผื่นแดง(ไม่มีในรูป)

ตอนบ่ายแก่ๆหนูก็ไปหาหมอจิ๊บกับป่าป๊าและหม่าม้า วันนี้ชั่งน้ำหนักได้ 35 กก. พอดีเลย ป่าป๊าบ่นว่าหนูอ้วนขึ้นอีกแล้ว หลังจากคุณหมอจิ๊บได้ตรวจดูผิวหนังของหนูแล้วก็บอกอาการยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ เลยขอขูดผิวหนังไปตรวจหาเชื้อในห้องแล็บตั้งสองหนแน่ะ ครั้งที่สองคุณหมอขูดจนเลือดออกซิบๆเจ้บเจ็บเลย แถมยังให้หนูเข้าห้องมืดๆเพื่อดูเชื้อ(เชื้อมันจะเรืองแสง)อีกด้วย แล้วคุณหมอก็วินิจฉัยว่าหนูน่าจะเป็นโรคเรื้อนเปียกหรือโรคเรื้อนรูขุมขน เกิดจากไรดีโมเด็กซ์(Demodex canis or Demodex injai) คุณอาจประหลาดใจถ้าทราบว่าเจ้าไรดีโมเด็กซ์หลากหลายสายพันธุ์แฝงตัวอยู่บนตัวเราและน้องหมาโตทุกตัวแต่มันไม่ได้ทำให้เดือดร้อนหรือทำให้รำคาญแต่อย่างใดจนกว่าภูมิต้านทานต่ำมันจึงจะเล่นงานเรา ป่าป๊าได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับโรคนี้ เผื่อคุณๆจะสนใจค่ะ

ขี้เรื้อน หรือ โรคเรื้อน เกิดจากสัตว์ตัวเล็กๆ 8 ขา ที่เราเรียกว่า "ไรสุนัข" (Mites)
ไรสุนัข หรือ ไมท์มีอยู่หลายชนิด อันเป็นที่มาของโรคผิวหนังแตกต่างกัน ซึ่งว่าไปแล้วโรคผิวหนังในสุนัขไม่ได้มีสาเหตุมาจากไรทั้งหมด โรคผิวหนังอาจเกิดได้จากแบคทีเรีย รา ความบกพร่องต่างๆ ของร่างกายสุนัข และโรคภายในบางอย่างก็ทำให้เกิดมีอาการขนร่วงคล้ายกับเป็นโรคผิวหนังได้ ซึ่งเหล่านี้ควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากสัตว์แพทย์ อย่างไรก็ตามโรคผิวหนังที่พบมากและบ่อยครั้งมักเกิดจากไรสุนัข หรือไมท์

คนสมัยก่อนแบ่งขี้เรื้อนเป็นสองประเภท คือ ขี้เรื้อนเปียก กับขี้เรื้อนแห้ง โดยแยกตามลักษณะอาการหรือวิการที่เห็นว่าลักษณะเปียก มีน้ำเหลือง หนอง เลือดไหล ก็จัดเป็นขี้เรื้อนเปียก ถ้าตรงข้ามก็เป็นแบบแห้ง ขี้เรื้อนของคนไทยแปลมาจากคำว่า manges ซึ่งแปลว่าโรคผิวหนังที่เกิดจากไรสุนัข ไรสุนัขอย่งที่กล่าวมาแล้วมีหลายชนิด แต่ชนิดที่เห็นบ่อยๆ และเด่นๆ มี 3 ชนิดคือ เดโมเดค, ซาคอปเตส และ ไรในรูหู

เดโมเดค (Demodectic mites หรือ Demodex bovis)

เจ้าตัวเดโมเดคติก ไมท์ ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่ชื่อว่า เดอโมไดโคซิส (Demodicosis) ซึ่งจัดเป็นโรค mange ชนิดหนึ่ง เจ้าตัวนี้เป็นสัตว์แปดขาขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อยู่ในขุมขนของสุนัข สัตวแพทย์ต้องนำผิวหนังมาขูดแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถึงจะเห็นเดโมเดค สามารถก่อให้เกิดขี้เรื้อนเปียก หรือแห้ง ขึ้นอยู่กับว่าการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนหรือไม่ ในการรักษา เนื่องจากมันอยู่ลึกไปในขุมขน ทำให้ยากต่อตัวยาที่จะแทรกซึมลงไปถึงตัวมัน

เดโมเดคมีชื่อเฉพาะซึ่งแตกต่างกันไปตามแหล่งที่พบในสัตว์แต่ละประเภท ที่มีชื่อสปีชีว่า เคนิส หรือเดโมเดค เคนิส (Demodex Canis) หลายๆ คนไม่ทราบว่าคนเราก็มีเดโมเดคอาศัยอยู่เช่นกัน แต่คนละสปีชีกับสุนัข ดังนั้น เดโมเดคในสุนัขไม่สามารถติดต่อมาถึงคนได้ เพราะคนกับสุนัขมีความห่างทางเครือญาติ หรือมีวิวัฒนาการแตกต่างกันมาก แม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน

เดโมเดค เป็นไร 8 ขาที่ขนาดเล็กมาก รูปร่างของมันยาวรี คล้ายสัตว์ประหลาดหรือหนอนมากกว่า มันมีขนสั้นมาก ซึ่งน่าจะเรียกว่า buds มกากว่าขา มันดำรงชีวิตโดยการดูดน้ำเลี้ยงน้ำเหลืองจากสัตว์ที่มันไปอาศัย เดโมเดทมีหลายชนิด พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดแตกต่างกันไป บางตำราบอกว่ามันเป็นโฮสต์สเปซิฟิค (Host specific) ก็คือ เดโมเดคชนิดที่พบในสัตว์ชนิดหนึ่งที่ไม่แพร่ข้ามไปมาระหว่างสัตว์ต่างชนิด เช่น เดโมเดคของสุนัขจะไม่ไปติดแมว เดโมเดคของแมวก็จะไม่ไปติดกระต่าย แต่มีผลงานวิจัยเพิ่มเติมเมื่อไม่นานนี้ว่า พบเดโมเดคสามารถติดต่อได้ในสัตว์ที่มีความเป็นเครือญาติใกล้กันได้บ้าง เช่นว่า เดโมเดคของสุนัขบ้านสามารถพบในสุนัขป่าบางชนิดของอเมริกา

ตามธรรมชาติเดโมเดทพบได้ทั่วไปในสุนัขทุกตัว และจะไม่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังตราบใดที่มันยังมีจำนวนน้อย และภูมิคุ้มกันแข็งแรงปกติดี พวกมันจึงจัดเป็นพวก นอร์มัล ฟลอร่า หรือเชื่อที่พบเห็นได้ทั่วไปในร่างกายสัตว์ที่ปกติ เดโมเดคถ่ายทอดกันโดยการสัมผัสโดยตรงเท่านั้น (Direct contact) การสัมผัสโดยตรงจากแม่สุนัขถึงสุนัขแรกเกิดช่วงระยะแรกของชีวิตเท่านั้น มีผลงานวิจัสนับสนุนมานานแล้วว่าเดโมเดคถ่ายทอดโดยวิธีนี้ เขาพบว่าการผ่าท้องคลอดแล้วแยกลูกสุนัขออกมาเลี้ยงเอง ลูกสุนัขชุดนั้นไม่พบเดโมเดค แต่ถ้าให้คลอดตามธรรมชาติ ก็ยังมีโอกาสที่ลูกสุนัขจะได้รับเชื้อจากปากช่องคลอด ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่าเดโมเดคไม่ถ่ายทอดจากสุนัขโตตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง แม้ว่าจะเลี้ยงด้วยกัน และเดโมเดคอยู่ในขุมขนของสุนัขเท่านั้น ไม่อยู่ภายนอกร่างกายสุนัขหรือสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น พื้นคอก กรง จานชาม ดังนั้น กรณีการติดต่อผ่านชามสุนัขทีทำความสะอาดแล้วก็ตาม จึงไม่ใช่กรณีของเดโมเดค ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นต้องทำการทรีตหรือใส่ยาฆ่าเชื้อตามอุปกรณ์ต่างๆ หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก เหมือนกรณีของไรบางชนิด หรือกรณีของเห็บ แต่อย่างไรก็ตาม โรคผิวหนังที่เกิดจากเดโมเดค ยังควรจะต้องให้ความระมัดระวังในเรื่องของความสะอาด เพื่อสุขภาพอนามัยของคอก และป้องกันการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อนในสุนัขป่วย

ซาคอปเตส (Scabies)

ซาคอปเตส หรือ ไรที่เรียกว่า ซาคอปติกไมท์ (Sarcoptic mites) เป็นไรขนาดเล็ก 8 ขาเช่นกัน แต่จะอยู่ในชั้นผิวหนังที่ตื้นกว่าเดโมเดค มีเพียงเจ้าตัวเมียที่จะวางไข่เท่านั้น พวกมันจะพยายามขุดผิวหนังในชั้นที่ลึกลงไปเพื่อวางไข่ ช่วงจุดนี้เองจะทำให้สุนัขมีอาการคันมาก (เดโมเดคก่อให้เกิดอาการคันเช่นกันแต่ไม่มากเท่าซาคอปเตส) การที่มันอยู่ในผิวหนังที่ไม่ลึกนัก ทำให้ง่ายต่อการรักษาเดโมเดค แต่ปัญหาของเจ้าตัวนี้คือ มันสามารถติดต่อถึงคนหรือผู้เลี้ยงได้ เพระาว่ามันเป็นเชื้อโรคตัวเดียวกันกับโรคหิดในคน แต่เป็นคนละชนิด แต่โชคดีที่ว่ามันเพียงดูดกินน้ำเหลืองจากมนุษย์เท่านั้น ไม่สามารถแพร่พันธุ์ในผิวหนังมนุษย์ได้ ทำให้วงจรของมันไม่ครบวัฎจักรในผิวหนังมนุษย์ พอตัวแก่ตาย ไข่ก็ไม่สามารถฟักเป็นตัว ทำให้โรคผิวหนังที่ติดซาคอปเตสจากสุนัขในคนสามารถหายเองได้

สิ่งที่น่ากลัวอีกประการของซาคอปเตสที่เราพึงระวังคือ การแพร่ระบาดมันสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วและติดต่อง่ายโดยการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นสุนัขกับสุนัข หรือสุนัขกับคน ดังนั้นการสัมผัสสุนัขที่เป็นโรค ควรจะล้างมือทำความสะอาดทุกครั้ง และไม่ควรเกาตัวเวลาที่มือสกปรก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในกาติดซาคอปเตสมากขึ้น

ไรในรูหู

ไรในรูหู เจ้าตัวนี้หรือโอโทเดคเตสจะอยู่ในรูหูสุนัขทำให้สุนัขมีอาการคัน ทำให้เกิดการระคายเคือง และทำให้สุนัขขับขี้หูออกมามาก ดังนั้น สุนัขที่เป็นไรในหูจะพบขี้หูปริมาณมาก และมีสีคล้ำหรือดำ อีกประการหนึ่งคือ ขนาดของเจ้าตัวไรหูประเภทนี้จะโตกว่าสองตัวแรก จึงอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดเล็กๆ สีขาว

ไรประเภทนี้มีหลายชื่อ เดโมเดคทำให้เกิดโรคผิวหนัง คือ mange แต่ฝรั่งเรียกชื่อเดียวกันนี้แตกต่างกันไปตามอาการหรือแหล่งที่อยู่ของมัน เช่น กรณีที่เป็นไรอยู่ในรูขุมขน สร้างความระคายเคืองกับเนื้อเยื่อรอบๆ อักเสบ เป็นสีแดง ทำให้ขนหลุดร่วง ฝรั่งบางคนจึงเรียกว่าเป็น red mange หรือการที่มันอยู่ในรูขุมขน บางคนจึงเรียกมันว่า folicular mange

การเกิดเดโมไดโคซิส

เมื่อลูกสุนัขได้รับเชื้อเดอโมเดคจากแม่ของมัน มันจะยังไม่แสดงอาการเนื่องจากอาจเป็นไปได้ว่าพวกมันยังได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่สุนัขอยู่ ตำราต่างประเทศบอกว่าลูกสุนัขจะมีอาการของโรคผิวหนังจากเดโมเดคช่วง 4 เดือนไปแล้ว ฝรั่งเรียกว่า Puppy Mange

การเกิดอาการโรคผิวหนัง เนื่องมาจากภูมิคุ้มกันของลูกสุนัขไม่สามารถควบคุมการเพิ่มของจำนวนเดโมเดคได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันหรืออิมมูนลูกสุนัขยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นแข็งแรงมากขึ้นตามการเจริญเติบโตของร่างกาย ดังนั้นปกติสุนัขที่มีอาการของโรคเดโมเดคสามารถหายเองได้ (self heal of self cure) เมื่อลูกสุนัขเจริญวัยขึ้น มีภูมิคุ้มกันขึ้นจนสามารถควบคุมการเพิ่มของเดโมเดคในตัวของมันได้ เดอโมไดโคซิสที่พบในลูกสุนัขส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะที่ เช่น บริเวณรอบดวงตา หน้าอก หรือแข้งขา เป็นรอย ขนร่วง คล้ายๆ มีแมลงมาแทะ การหลุดร่วงเฉพาะที่ ฝรั่งจะเรียกว่า localized

มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสุนัขในเมืองไทย ซึ่งเราจะพบบ่อยมากว่าลูกสุนัขแรกเกิดเพียงไม่กี่วันก็พบอาการแล้ว แสดงว่าภาวะเดโมเดคในเมืองไทยค่อนข้างเข้าขั้นวิกฤตคงจะไม่ผิดนัก อย่างไรก็ตามสัตวแพทย์ถือว่าการเป็นเดโมไดโคซิสเฉพาะที่ของสุนัขนั้นไม่ผิดปกติ เมื่อลูกสุนัขโตขึ้น อาการดังกล่าวก็จะหายไปเอง เมื่ออายุไม่เกิน 11 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ พัฒนาเต็มที่แล้ว แต่ในสุนัขที่ถือว่าเป็นโรคจะไม่เป็นเช่นนั้น อาการขนหลุดร่วงจะไม่เป็นเฉพาะที่อีกต่อไป แต่จะพัฒนาเข้าสู่รูปแบบหรือฟอร์มที่ 2 คือ มีอาการลุกลาม (Generalized Form) พบเห็นอาการหรือวิการได้ทั่วตัว และอาการไม่หายไปแม้ว่าลูกสุนัขจะเจริญวัยขึ้น ขั้นนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าต้องการการรักษาแล้ว และเป็นเครื่องชี้ชัดว่าสุนัขตัวนั้นมีความผิดปรกติบางอย่างในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน

การรักษาโรคเดโมเดคเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เนื่องจากมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบที่สำคัญที่สุดระบบหนึ่งของร่างกายสุนัข คือ ระบบภูมิคุ้มกัน การที่ปล่อยให้เดโมไดโคซิสในลูกสุนัขหายเอง และไม่ควรไปทรีตยาอะไรเนื่องจากเขาต้องการจะให้แน่ใจว่าลูกสุนัขตัวนั้นมีภูมิคุ้มกันที่ปกติหรือไม่ เพราะถ้าลูกสุนัขเป็นลูกสุนัขปกติแล้ว เราไปทำการรักษา ไม่ปล่อยให้หายเอง เท่ากับไปยอมรับแล้วว่าสุนัขตัวนั้นเป็นโรคและการใช้ยาก็จะมีผลต่อการทำงานของภูมิลูกสุนัขตัวนั้นต่อไป นั่นคือ แม้ว่าเราจะสามารถควบคุมจำนวนเดโมเดคในลูกสุนัขตัวนั้นด้วยยาได้ แต่ลูกสุนัขตัวนั้นคล้ายๆ กับว่าจะต้องพึ่งการรักษาไปตลอดชีวิตของมัน จึงมีโอกาสเป็นโรคเดอโมไดโคซิสได้อีก

เดโมเดคกับพันธุกรรม

เดโมเดคไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่เนื่องจากความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสุนัข เราจึงควบคุมและระมัดระวังเดโมเดคเหมอนกับโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพราะว่าภูมิคุ้มกันสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ สุนัขโตทีเ่ป็นโรคผิวหนังจากเดโมเดคเป็นเครื่องแสดงถึงการมีภูมิคุ้มกันที่ปกติ และจะถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกต่อไป ลูกของมันจึงมีโอการเป็นเดอโมไดโคซิสสูงขึ้นไปอีกด้วย สัตวแพทย์จึงแนะนำไม่ให้ทำการผสมสุนัขโตที่เคยเป็นเดโมเดคเด็ดขาด แม้วว่าตอนผสมจะได้รับการรักษาอาการที่ผิวหนังให้หายไปแล้วก็ตาม ข้อเท็จจริงนี้ทำให้เดโมเดคระบาดในเมืองไทยมาก เนื่องจากคนไทยไม่ค่อยใส่ใจเรื่องการควบคุมการผสมพันธุ์ เห็นได้ชัดจากกรณีหมาจรจัด หรือจะเป็นหมาที่เลี้ยงตามบ้านหรือตามคอกก็ตาม

ความน่ากลัวของเดโมเดค

เนื่องจากเดโมเดคไม่ได้เกิดจากความสกปรก แต่เกิดจากเดโมเดคซึ่งสัตวแพทย์บางท่านให้ความเห็นว่า บางตัวไม่สามารถรักษาให้หายได้ นี่คือความน่ากลัวของเดโดเดค เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถสร้างสารที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่สมบูรณ์ ไมสามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนของมันได้อีกต่อไป ความน่ากลัวประการต่อมาคือ มีตัวยาเพียงไม่กี่ชนิดที่จะแทรกซึมเข้าไปถึงตัวเดโดเดคได้ เนื่องจากมันอยู่ลึกลงไปในขุนขน ซึ่งยากต่อการเข้าถึง

เหตุผลประการสำคัญที่ไม่สามารถรักษาเดโมเดคในสุนัขบางตัวได้ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของสุนัขตัวนั้นล้มเหลว ไม่ตอบสนองต่อยาต่างๆ (Failure of the immune system) อีกประการหนึ่งก็คือ สุนัขตัวนั้นเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น มะเร็ง, เบาหวาน

การตรวจและวินิจฉัย

สัตวแพทย์จะทำการตรวจหาเชื้อเดโมเดคด้วยวิธีการใช้ใบมีดขูดผิวหนังและนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ หรือทำการไบออฟซี่ ซึ่งเป็นการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อไปวิจัย (Skin scrapping and Biopsy) เนื่องจากเดโมเดคอยู่ลึกจนมีเลือดซึมออกมาก การบีบผิวหนังบริเวณที่มีอาการแล้วขูด จะเพิ่มโอกาสให้ขูดพบเชื้อได้ง่ายขึ้น

สัตวแพทย์จะวินิจฉัยว่าสุนัขตัวนั้นเป็นเดอโมไดโคซิส เมื่อมี 2 ปัจจัยพร้อมกัน คือ หนึ่ง ตรวจพบเชื้อจำนวนมาก และสองมีอาการร่วมหรือวิการแสดงทางผิวหนัง

การรักษา

ในสมัยก่อนคนโบราณใช้กำมะถัน น้ำมันก๊าด หรือน้ำหน่อไม้ดองมารักษาสุนัขที่เป็นขี้เรื้อน ตัวยาพื้นบ้านเหล่านี้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากไรได้เท่านั้น ไม่ใช่เดโมเดค อาจจะรักษาได้ในกรณีของซาคอปเตสอยู่ชั้นผิวหนังที่ตืนกว่า แต่ยาเหล่านี้ไม่อาจจะแทรกซึมหรือฆ่าเดโมเดคได้เลย ยาที่ต่างประเทศนิยมใช้คือ Mitaban (เป็น amitraz) ตัวหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง รักษาด้วยการจุ่มหรือแช่ยาสุนัขทั้งตัว (ยกเว้นส่วนหัว) หรือจะใช้ฟองน้ำชุบ ซึ่งวิธีการเหล่านี้อยู่ประเภท Dipping ด้วยความเข้มข้นของตัวยาประมาณตั้งแต่ 2 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตขึ้นไป (ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพราะความเข้มข้นมีความสำคัญต่อการรักษา ถ้าเข้มข้นน้อยไปไรก็ไม่อาจตาย แต่ถ้ามากไปก็จะเป็นพิษต่อสุนัข) ยานี้มีผลข้างเคียงในสุนัขบางตัว หรือต่อคน ทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ วิงเวียน อาเจียน ถ้าอาการข้างเคียงไม่หายเองใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์หรือสัตวแพทย์พร้อมนำฉลากยาไปด้วย

ทำการจุ่ม Amitraz จำนวน 6-8 ครั้งติดต่อกัน แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที แต่ละครั้งห่างกัน 1-2 อาทิตย์ และต้องทำติดต่อกันไป 6-8 ครั้ง ซึ่งการรักษาจะมีการสังเกตอาการภายนอกร่วมกับการขูดดูเชื้อผ่านกล้องจนกว่าจะไม่เจอวิการ ขูดไม่เจอเชื้อ สุดท้ายจึงหยุดทรีตยา

มีข้อแนะนำว่าก่อนทรีต Amitraz ผิวหนังของสุนัขต้องแห้งและสะอาด สัตวแพทย์บางคนแนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยา Benzoylperoxide มีสรรพคุณเปิดรูขุมขนให้กว้างขึ้น เพื่อให้ยา Amitraz ซึมเข้าไปมากขึ้น หลังจากแช่ Amitraz นาน 10-15 นาทีดังกล่าว ก็นำสุนัขขึ้นจากบ่อยาโดยปล่อยให้ยาแห้งไปเอง โดยไม่ต้องล้างหรือเช็ดตัวยาออก

ถ้าเป็นเยอะมากควรพาไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกวิธีนะคะ เพื่อน้องหมาที่น่ารักของคุณ

มีเรื่องตลกที่หนูอยากนินทาเอ้ยเล่าให้ฟังค่ะ คือหลังจากกลับจากโรง'บาลซึ่งก็ค่ำแล้ว พระจันทร์ขึ้นแล้วหล่ะ ป่าป๊ากับหม่าม้าก็เลยรีบจัดโต๊ะของไหว้ต่างๆเพื่อทำพิธีไหว้พระจันทร์จนแล้วเสร็จ รุ่งเช้าหม่าม้าจึงคิดขึ้นมาได้ว่าเมื่อคืนไม่ได้เอาขนมไหว้พระจันทร์ไปไหว้ด้วย เพราะมันอยู่ในกล่องอย่างเดิมบนตู้เย็น (ฮา)

วันหลังค่อยคุยกันใหม่นะคะ บ๊ายบาย

ไมโล(เปียก)





Bookmark and Share
0 Responses
Related Posts with Thumbnails